หน้าแรก >> งานวิจัยและพัฒนา DTI TALK
DTI TALK
นำผู้แทนกองทัพร่วมสาธิต UAV

พลเอก สมพงศ์ มุกดาสกุล ผู้อำนวยการ DTI และทีม เชิญผู้แทนเหล่าทัพร่วมสาธิต Mini UAV และ Narai UAV ร่วมกับกองกำลังผาเมือง โดยจำลองภารกิจปฏิบัติงานจริง ณ ฐานปฏิบัติการบ้านอรุโณทัย ชายแดน ไทย-พม่า เพื่อเสริมสร้างศักยภาพกองทัพไทย

DTI มีการสัมมนาระหว่างนักวิจัยและหน่วยผู้ใช้งานเครื่องฝึกจำลองยุทธ์หรือ Simulator 

ทั้งที่นำไปใช้งานแล้วและอาจจะพิจารณานำไปใช้ในอนาคต ซึ่ง DTI ส่งมอบเครื่องฝึกจำลองยุทธให้กับหลายหน่วยงานของทั้งสามเหล่าทัพ
ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องฝึกบุคคลทำการรบ



Simulator ของ DTI 

ภาพที่เห็นคือตัวอย่างของระบบ UAV Simulator ซึ่งยังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา ระบบนี้จะทำให้ทั้งบินภายใน ผู้ควบคุมภารกิจ รวมถึงผู้ตรวจการณ์หน้าสามารถฝึกไปพร้อมกันได้ผ่านมุมมองสถานการณ์ของแต่ละคน

เราออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบที่จะทำให้เครื่องฝึกทุกแบบของเราสามารถเชื่อมต่อกันได้เพื่อทำการฝึกร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย เนื่องจากเราเป็นผู้พัฒนาสถาปัตยกรรมของระบบ ทำโมเดลลิ่ง และสำรวจภูมิประเทศจริงเพื่อจำลองออกมาเป็นภูมิประเทศสามมิติด้วยตัวเอง ซึ่งจะแตกต่างจากการจัดหาเครื่องช่วยฝึกจากต่างประเทศที่มักจะเชื่อมต่อกันไม่ได้หรือถ้าเชื่อมต่อกันได้ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
ส่วนของ Engine นั้นเราใช้ Engine เดียวกับที่กองทัพสหรัฐใช้งานเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะมีความสมจริงสูงและขับเคลื่อนการพัฒนาโดยกองทัพสหรัฐทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

DTI ยังร่วมมือกับภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีศักยภาพในการใช้สิ่งที่แต่ละแห่งมีความถนัดเพื่อบูรณาการณ์ทรัพยากรของประเทศไทยในการพัฒนาเครื่องช่วยฝึกดังกล่าว

อัพเดตงานวิจัยด้านจรวดของ DTI
หลายท่านที่เล่นเกมส์จะสังเกตได้ ใช่แล้วครับ Simulator ของ DTI เราใช้ Engine เดียวกับเกมส์ ARMA ครับ เพราะ VBS2 นั้น บริษัทเอกชนร่วมกันพัฒนากับนาวิกโยธินสหรัฐซึ่งจะค่อนข้างมีความสมจริง และต่อมาก็มีผู้ใช้เพิ่มเติมเช่นกองทัพบกของสหรัฐ ออสเตรเลีย ฟินแลนด์แคนนาดา ฝรั่งเศส เป็นต้นครับ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมส์ซึ่ง มีการลงทุนมหาศาลจะเป็นผู้นำในการพัฒนา Engine ด้านการจำลองยุทธ์ เนื่องจากมูลค่าของอุตสาหกรรมเกมส์มีมูลค่าสูงมาก ทำให้อุตสาหกรรมเกมส์มีทรัพยากรในการพัฒนาที่สูงกว่ากองทัพเป็นอย่างมาก เพราะการพัฒนา Engine นั้นต้องใช้งบประมาณในหลักพันล้านบาทพร้อมกับทีมโปรแกรมเมอร์อีกเป็นจำนวน มาก

กองทัพส่วนใหญ่จึงมีหน้าที่หยิบ Engine ในท้องตลาดมากำหนดความต้องการในการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับการจำลองยุทธ์ทางทหาร เนื่องจาก Engine ต่าง ๆ เหล่านั้นมีประสิทธิภาพสูงพอแล้วครับ ส่วนหน้าที่ของ DTI คือใช้ API ของ Engine นั้นมาพัฒนาในสิ่งที่เหมาะสมกับกองทัพไทยครับ ถ้าในอนาคต Engine มีการพัฒนาขึ้น ซึ่งเรามีแผนที่จะพิจารณาใช้ VBS3 ในเร็ว ๆ นี้ครับ

เนื่องจาก UAV Simulator นี้ยังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา เราจึงยังใช้องค์ประกอบเดิม ๆ ของ Engine อยู่ เช่นภูมิประเทศหรือตัวเครื่องแบบของทหารราบ แต่ถ้าใครสังเกตดี ๆ จะพบว่าตัว UAV นั้นเป็น Fixed-Wing UAV ของ DTI แล้ว หลังจากนี้เราจะทะยอยใส่องค์ประกอบที่เป็นไทยเข้าไปเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับการพัฒนา AI ของระบบให้ฉลาดมากขึ้น รวมถึงระบบภารกิจและระบบประเมินการฝึกที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาครับ
DTI เริ่มทดสอบยานเกราะล้อยาง 8x8 
DTI ในวันกองทัพไทย 18 มกราคม 2559 
วีดีทัศน์ต้นแบบจรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถี DTI 1G
จรวดดัดแปรสภาพอากาศ (Weather Modification Rocket)

DTI เปิดหลักสูตรการฝึกอบรมนักบินภายนอกอากาศยานไร้คนขับสำหรับบุคคลภายนอกทั่วไป
ใช้โดรนอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย ตอนที่ 2

การใช้งานโดรนหลักๆ ได้แก่
  1. งานอดิเรก 
  2. เชิงพาณิชย์ เช่น การบินสำรวจหรือบินถ่ายภาพ 
  3. ภารกิจทางทหาร ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคง 
  4. การวิจัยและพัฒนา
สำหรับมาตรการกำกับดูแลการใช้งานโดรนที่มีผลบังคับใช้อยู่ในแถบทวีปยุโรป ยกตัวอย่างเช่น ใน สหราชอาณาจักร กรมการบินพลเรือนหรือ Civil Aviation Authority (CAA) ได้ออกระเบียบว่าด้วยการใช้งานยานไร้คนขับในน่านฟ้าสหราชอาณาจักร เลขที่ 722 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ.2012 ที่ได้แบ่งประเภทของโดรนออกเป็น 3 กลุ่ม ตามน้ำหนัก ดังนี้
กลุ่มที่ 1 Small Unmanned มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 กิโลกรัม
กลุ่มที่ 2 Light UAS มีน้ำหนัก ระหว่าง 20 – 150 กิโลกรัม
กลุ่มที่ 3 UAV มีน้ำหนักเกิน 150 กิโลกรัม

สำหรับอากาศยานในกลุ่มที่ 1 สามารถทำการบินได้หากปฏิบัติตามระเบียบของ CAA ซึ่งในเบื้องต้นกำหนดให้
  • ไม่บินเข้าไปในห้วงอากาศที่มีการควบคุม โดยไม่ได้รับอนุญาต
  • มีเพดานบินไม่เกิน 400 ฟุต
  • รัศมีทำการไม่เกิน 500 เมตร หรือในระยะสายตา (Visual Line of Sight)
  • ไม่บินเหนือกลุ่มคนในระยะ 150 เมตร
  • ไม่บินเหนือบุคคล ยานพาหนะหรือสิ่งปลูกสร้าง ในระยะ 50 เมตร ยกเว้นในกรณี บินขึ้นและลงจอด
  • การใช้งานในเชิงพาณิชย์ต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ


ซึ่งนอกเหนือจากนี้แล้วยังมีรายละเอียดอีกมากในเรื่องใบอนุญาตของผู้ใช้งานซึ่งสถานภาพในปัจจุบันได้มีการกำหนดหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการออกใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าอบรมและผ่านการทดสอบทั้งในภาคทฤษฏีและภาคอากาศ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้ผู้ใช้งานโดรนมีการประกันภัยอากาศยานเพื่อคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินและบุคคลที่สาม ตามระเบียบขอสหภาพยุโรป ข้อที่ 785/2004

สำหรับที่อากาศยานในกลุ่มที่ 2 และ 3 จะต้องมีใบสมควรเดินอากาศ (Certificate of Airworthiness) มีใบอนุญาตนักบิน และปฏิบัติตามกฎทางอากาศ (Rules of the Air) หรือได้รับการยกเว้นเป็นรายกรณีไป

ระเบียบและข้อบังคับที่กำหนดโดย CAA จะสอดคล้องกับระเบียบที่มีใช้อยู่ในหลายประเทศในเขตยุโรป เช่น เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และสวีเดน ที่ได้กำหนดเกณฑ์การใช้งานด้วยน้ำหนัก 

ระยะปฏิบัติการ และใบอนุญาตนักบินที่จะต้องสอดคล้องกับโดรนที่ใช้ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสวีเดน

ตามระเบียบ TSFS 2009:88 ผู้ที่จะบินโดรนที่มีน้ำหนัก 150 กิโลกรัม ในรัศมีทำการที่เกินระยะสายตา (Beyond Line of Sight) จะต้องมีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เท่านั้น ทำให้ส่วนใหญ่นักบินโดรนในสวีเดนถือใบอนุญาตที่บินเครื่องโดรนที่มีขนาดไม่เกิน 7 กิโลกรัม และใช้งานในเชิงพาณิชย์ด้านการถ่ายรูปเป็นหลัก

อีกหนึ่งประเทศที่มีการใช้งานโดรนในเชิงพาณิชย์มาเป็นเวลานานคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำโดรนมาใช้ทางการเกษตรเพื่อพ่นยากำจัดศัตรูพืช ระเบียบได้กำหนดให้การใช้งานจะต้องอยู่ในระยะสายตา นักบินจะต้องผ่านการอบรมและทดสอบจากศูนย์ฝึกที่มีอยู่มากถึง 27 แห่งทั่วประเทศ สำหรับโดรนชนิดอื่น ๆ ได้ถูกกำหนดให้ห้ามบินเข้าบริเวณพื้นที่ส่วนบุคคลก่อนได้รับอนุญาตเป็นต้น

สำหรับในอาเซียนซึ่งมีความตื่นตัวในเรื่องของการใช้โดรนไม่ต่างจากทวีปอื่นๆยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งหน่วยงานการบินพลเรือนหรือ Civil Aviation Authority of Singapore (CAAS) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนกฎระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้งานโดรนในเขตหอควบคุมการบินหรือสถานที่สำคัญของทางราชการ สถานภาพในขณะนี้ห้ามโดรนบินสูงเกิน 200 ฟุต หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือ จำคุกไม่เกิน 15 เดือน หรือทั้งจำและปรับ

อีกหนึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนคือประเทศมาเลเซียที่ได้มีการออกระเบียบข้อบังคับการใช้โดรนออกโดยกรมการบินพลเรือนหรือ Department of Civil Aviation (DCA) ได้ออกเอกสาร Aeronautical Information Services ฉบับที่ 04 / 2008 ซึ่งมีใจความสำคัญคือโดรนที่มีน้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัม จะต้องมีใบสมควรเดินอากาศ หรือ ได้รับการอนุญาตให้ขึ้นทำการบินจากกรมการบินพลเรือน ประเด็นสำคัญอีกประการคือเรื่องของใบอนุญาตนักบินที่ต้องครอบครองใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License) มีความรู้พื้นฐานในเรื่องของอากาศพลศาสตร์ องค์ประกอบหลักของระบบต่างๆ เช่นเดียวกับนักบินทั่วไป สำหรับโดรนที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 20 กิโลกรัม จะได้รับการอนุญาตให้บินที่ความสูงได้ไม่เกิน 400 ฟุต ในห้วงอากาศที่กำหนดไว้ให้เท่านั้น

ในส่วนของประเทศไทยนั้น นาย สมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน ได้กล่าวกับสื่อถึงแนวทางการออกมาตรการกำกับดูแลการใช้งานโดยมีเกณฑ์สำคัญ 3 ด้าน คือ
  1. สมรรถนะ จะกำหนด น้ำหนัก ขนาด รวมทั้งปริมาณเชื้อเพลิงที่บรรจุภายในโดรนต้องบินในระยะที่ไม่นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนจราจรทางอากาศ
  2. ภารกิจ จะไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปนำโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพขึ้นบิน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จะอนุญาตให้โดรนติดตั้งกล้องไปใช้งานได้ เฉพาะธุรกิจที่มีความจำเป็นในการถ่ายภาพ เช่น ธุรกิจประเภทสื่อสารมวลชน หรือธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์
  3. ระดับความสูง กำหนดห้ามโดรนบินในระดับความสูงที่เกินกว่า 500 ฟุต และต่ำเกินกว่า 50 ฟุตจากระดับพื้นดิน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบินพาณิชย์ และห้ามบินต่ำเกินไปจนส่งกระทบต่อบ้านเรือนและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งจะกำหนดให้โดรนที่บินจะต้องยื่นขออนุญาตกระทรวงคมนาคม ก่อนขึ้นบินทุกครั้ง หากพบว่าไม่ขออนุญาตจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพียงกรอบกว้างๆ ของระเบียบข้อบังคับควบคุมการใช้งานโดรนที่ได้นำเสนอเป็นตัวอย่าง ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วยังมีประเด็นที่ต้องมีการหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและในระดับเวทีสากล เริ่มต้นตั้งแต่ภาคการผลิตโดรน การควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control) หน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ ครอบคลุมไปจนถึงผู้ใช้ จึงจะทำให้การใช้งานโดรนเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพและแสวงประโยชน์จากเทคโนโลยียานไร้คนขับได้อย่างสูงสุด

Project Director และนักวิจัย อธิบายคุณลักษณะการใช้งานและข้อมูลด้านเทคนิค ของ Mini UAV ต่อผู้แทนเหล่าทัพ

วิศวกรระบบ Narai UAV บรรยาย การใช้งานเพื่อภารกิจแบคแพคของหน่วยลาดตะเวน

ใช้โดรนอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย ตอนที่ 1

ระยะหลัง ๆ มานี้เราจะได้ยินข่าวเรื่องอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนลึกลับที่บินอยู่เหนือน่านฟ้าใจกลางกรุงปารีส รวมถึงเมื่อไม่นานที่ผ่านมาได้มีรายงานการพบเห็นโดรนบินเหนือบริเวณพื้นที่สำคัญอย่างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้หน่วยงานด้านความมั่นคงต้องเร่งรีบดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาโดรนลึกลับลำนี้ให้เจอโดยด่วน เพื่อจะช่วยลดความตึงเครียดโดยเฉพาะในช่วงที่ฝรั่งเศสยกระดับมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้น

เหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น เมื่อต้นปี พ.ศ.2558 มีข่าวพาดหน้าหนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาถึงการค้นพบโดรนตกบริเวณสนามหญ้าในเขตรัวของทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพื้นที่แปลงนั้นนับเป็นพื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัยหนาแน่นแห่งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว

การค้นพบโดรนตกอยู่ในเขตทำเนียบขาวสร้างความโกลาหลอีกครั้งให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับที่รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของครอบครัวของประธานาธิบดี แต่ยังดีที่เจ้าของโดรนตัวนี้ได้รีบออกมาแสดงตัว ให้ความร่วมมือในการสืบสวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ช่วยให้ความตึงเครียดคลี่คลายลงได้อย่างรวดเร็ว


จากตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างจะได้รับความสนใจจากสาธารณะเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ทรัพย์สินและความปลอดภัย โดยเฉพาะในปัจจุบันโดรนสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด มีราคาถูกและง่ายต่อการบังคับ

ส่งผลให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการคมนาคมทางอากาศในหลายๆ อาทิ สหรัฐอเมริกาและในยุโรป ได้ออกมาตรการกำกับดูแลการใช้งานโดรนในลักษณะของ กฎ ระเบียบและข้อบังคับการใช้งานโดรนขึ้นมา รวมทั้งมีการรนรงค์สร้างความตระหนักรู้ปลูกจิตสำนึก และความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้ที่ครอบครองโดรน เนื่องจากโดรนเป็นอากาศยานประเภทหนึ่ง คำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัย สิทธิส่วนบุคคลและความมั่นคงของประเทศอย่างรอบคอบ

DTI เปิด รป. โชว์ศักยภาพผู้นำจรวดแห่งอาเซียน

พลอากาศตรี เกษม เหล่าจินดาพันธ์ ที่ปรึกษา DTI นำคณะทำงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโยโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม โดย พลเอกภัสสร อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าคณะ เข้าเยี่ยมชมความก้าวหน้า และขีดความสามารถการวิจัยจรวด DTI


สาธิต Narai UAV พื้นที่สำนักพัฒนาภาค 4 จ.พัทลุง
บรรยากาศเตรียมความพร้อมสาธิต Narai UAV พื้นที่สำนักพัฒนาภาค 4 จ.พัทลุง

นักวิจัยตอบข้อซักถามหลังจากการสาธิตนารายณ์ยูเอวี (Narai UAV)

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง "โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบินขึ้น-ลงทางดิ่งแบบนารายณ์(Narai UAV) ระยะที่2"

นารายณ์ ยูเอวี (Naria UAV) เป็นอากาศยานไร้นักบินขึ้น-ลงทางดิ่ง(VTOL UAV) มีความสามารถใช้ในการบินระยะใกล้ ด้านการสอดแนม การตรวจสอบ พิสูจน์ทราบ ใช้เป้า โดยเป็นประโยชน์กับหน่วยลาดตะเวนพื้นที่ หากพบเห็นสิ่งแปลกปลอม มีพิรุธหรือในเขตพื้นที่อันตราย ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ก็สามารถส่งนายณ์ ยูเอวี(Naria UAV) เข้าไปตรวจสอบก่อนได้ เพื่อลดการสูญเสียของหน่วยผู้ใช้ โดยที่ผ่านมามีการวิจัยและพัฒนาโดย กองทัพเรือ ร่วมกับ บริษัท เสรีสรรพกิจ จำกัด ซึ่งในระยะแรกนั้น โดยนายณ์ ยูเอวี (Naria UAV) ได้เข้าไปประจำหน่วยงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงได้ลงนามร่วมวิจัยและพัฒนาในระยะที่ 2 กับ DTI ซึ่งมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของอากาศยาน นารายณ์ ยูเอวี ให้มีประสิทธิภาพ ศักยภาพเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น 



ทดสอบระบบ Telemetry เพื่อติดตั้งที่หัวรบของ DTI-2 และเอามาทดลองเบื้องต้นในออฟฟิต

Telemetry คือเทคโนโลยีการตรวจวัดระยะไกลอัตโนมัติครับ จริง ๆ มันไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องซับซ้อนอะไรเลยเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันในหลายสาขา
เนื่องจากเราต้องการได้ข้อมูลต่าง ๆ ของตัวจรวดระหว่างจรวดเดินทางในอากาศ เพื่อนำมาคำนวณค่าขีปนวิธี (Ballistics) เพื่อให้เราทราบถึงลักษณะเฉพาะของ DTI-2 และสามารถนำค่าที่ได้มาปรับปรุงและออกแบบตัวจรวดให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น




Simulator ของ DTI เราใช้ Engine เดียวกับเกมส์ ARMA เพราะ VBS2 นั้น บริษัทเอกชนร่วมกันพัฒนากับนาวิกโยธินสหรัฐซึ่งจะค่อนข้างมีความสมจริง และต่อมาก็มีผู้ใช้เพิ่มเติมเช่นกองทัพบกของสหรัฐ ออสเตรเลีย ฟินแลนด์แคนนาดา ฝรั่งเศส เป็นต้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมส์ซึ่งมีการลงทุนมหาศาลจะเป็นผู้นำในการพัฒนา Engine ด้านการจำลองยุทธ์ เนื่องจากมูลค่าของอุตสาหกรรมเกมส์มีมูลค่าสูงมาก ทำให้อุตสาหกรรมเกมส์มีทรัพยากรในการพัฒนาที่สูงกว่ากองทัพเป็นอย่างมาก เพราะการพัฒนา Engine นั้นต้องใช้งบประมาณในหลักพันล้านบาทพร้อมกับทีมโปรแกรมเมอร์อีกเป็นจำนวนมาก




NARAI UAV01
วีดีโอการถ่ายทอดสัญญาณการปฏิบัติการตรวจค้นเรือประ­มง โดยใช้ นารายณ์ UAV ร่วมกับ หมวกทหารราบ ไปยังทัพเรือภาคที่ 3 ถ่ายทำเมื่อ 13 ม.ค. 2557


เมื่อครั้งที่กองทัพบกได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ DTI เกี่ยวกับจรวด DTI-2 ขนาด 122 มม.นั้น หนึ่งในแผนงานที่กองทัพบกมีความต้องการก็คือการปรับปรุงจรวดหลายลำกล้องแบบ 31 หรือ YW306 ซึ่งเป็นจรวดหลายลำกล้องที่ติดตั้งบนรถสายพานลำเลียงพล Type-85

โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการถอดจรวดขนาด 130 มม. ออก และติดตั้งแท่นยิงจรวด DTI-2 เข้าไปแทนที่ เพื่อทำให้จรวดหลายลำกล้องทั้ง YW306 และ SR4 สามารถทำการยิงจรวด DTI-2 ได้ เป็นการลดแบบของจรวดทางยุทธวิธีของกองทัพบก เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการปฏิบัติภารกิจ และสนับสนุนการเพิ่งพาตนเองของกองทัพไทย ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2560
พลเอกสมพงศ์ มุกดาสกุล ผู้อำนวยการ DTI นำ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ เยี่ยมชมรถยิงจรวด DTI

บรรยากาศ DTI Campus ตามหานักวิจัยรุ่นใหม่ร่วมงานกับเรา และแนะนำหลักสูตรวิศวกรรมป้องกันประเทศ เมื่อวานนี้ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระคุณทหารลาดกะบัง


เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ DTI ได้ร่วมมือกับกองทัพบก (ศูนย์การทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ และคณะทำงานร่วมพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. (ทบ. - DTI)) และกองทัพเรือ (กรมยุทธการทหารเรือ ทัพเรือภาค 3 ฐานทัพเรือพังงา หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กรมอุทกศาสตร์ และคณะทำงานร่วมพัฒนาสนามทดสอบอาวุธ (ทร. - DTI)) ในการทดสอบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มิลลิเมตรจากสนามยิงปืนใหญ่ ฐานทัพเรือพังงา ซึ่งการทดสอบประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

การทดสอบในครั้งนี้เป็นการทำการยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 ม.ม. ที่ DTI พัฒนาขึ้น จากรถฐานยิงจรวด 122 มม. ซึ่ง DTI พัฒนาขึ้นเองทั้งระบบเช่นกัน และทำการยิงจากรถฐานยิง DTI-1 ติดตั้งท่อรองใน โดยรวมแล้วทำการยิงทั้งหมด 6 นัด เข้าหาเป้าหมายที่เป็นทุ่นในทะเลอันดามัน ที่ระยะยิง 40 กิโลเมตรและ 20 กิโลเมตร โดยมีเรือรบและเรดาร์ของกองทัพเรือ อากาศยานของกองทัพอากาศ และระบบเรดาร์ของกองทัพบกเข้าร่วมในการทดสอบและรักษาความปลอดภัยสนามยิง รวมถึงบริษัท วิทยุการบิน จำกัด ที่อำนวยความสะดวกในการออกประกาศนักบิน (Notice To Airmen) ที่ทำให้การทดสอบประสบผลสำเร็จ

โดยสนามยิงของกองทัพเรือ ณ ฐานทัพเรือพังงานั้น เป็นสนามยิงที่กองทัพเรือใช้ในการฝึกยิงปืนใหญ่ประจำปีอยู่เป็นปรกติอยู่แล้ว ประกอบกับข้อจำกัดในการทำการทดสอบยิงบนบก ทำให้กองทัพเรือได้อนุมัติให้ DTI ทำการทดสอบยิงจากสนามยิงแห่งนี้ซึ่งเป็นการทำการยิงเข้าหาเป้าหมายในทะเล โดยก่อนทำการยิง DTI ได้ประชุมกับผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน พร้อมทั้งจัดทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) จากการยิงที่เกิดขึ้น พบว่าสภาพแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเล และประชาชนทั่วไป จะไม่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบนี้แต่อย่างใด

การทดสอบนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการทดสอบจรวดหลายลำกล้องระยะไกลถึง 40 กิโลเมตรในประเทศไทย โดยในปัจจุบัน DTI กำลังจัดทำแผนการยิงทดสอบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1G ที่ระยะยิง 90 กิโลเมตรในประเทศไทยเช่นกัน

ทั้งนี้ DTI จะทำการผลิตและส่งมอบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 ม.ม. ที่มีระยะยิง 10 กิโลเมตร และ 40 กิโลเมตรฝีมือคนไทย ให้กับกองทัพบกภายในปีงบประมาณ 2559 ต่อไป


วันนี้ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ DTI ได้ทำการทดสอบยานเกราะล้อยาง 8x8 โดยถือเป็นการทดสอบครั้งแรกนับตั้งแต่มีการสร้างต้นแบบยานเกราะล้อยางขึ้นมา

ยานเกราะล้อยาง 8x8 ของ DTI นั้นออกแบบโดยนักวิจัยไทย ซึ่งใช้ยานเกราะที่มีประสิทธิภาพสูงจากทั่วโลกเป็นตัวเปรียบเทียบ และออกแบบเพื่อวิจัยและพัฒนายานเกราะล้อยางที่มีประสิทธิภาพสูงทัดเทียมกับยานเกราะล้อยางของต่างประเทศ แต่มีความเหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการของประเทศไทย

การทดสอบในวันนี้เป็นการทดสอบการวิ่งระยะไกลระยะทาง 64 กิโลเมตร โดยใช้การวิ่งไป-กลับที่สภาพถนนทั่วไปที่ระยะทางยาว 8 กิโลเมตรจำนวน 4 รอบ เพื่อทดสอบสมรรถนะของรถในเบื้องต้น ทดสอบการเลี้ยว การเร่ง การทำงานของเครื่องยนต์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถที่จะทำงานเต็มประสิทธิภาพเป็นครั้งแรกในวันนี้

เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้มีฝนตกลงมาในบางช่วงของการทดสอบ แต่ตัวรถก็ยังสามารถทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้ โดยรถทำการวิ่งที่ความเร็วเฉลี่ย 40 - 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีการตรวจสอบความพร้อมของรถเมื่อรถวิ่งไปได้ครึ่งหนึ่งของระยะทางที่กำหนด

การทดสอบในวันนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม DTI จะทำการทดสอบสมรรถนะของรถอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ต้นแบบยานเกราะล้อยาง 8x8 คันแรกที่ผลิตขึ้นด้วยฝีมือคนไทยคันนี้พร้อมสำหรับการประเมินค่าและการทดสอบของหน่วยผู้ใช้ต่อไป

DTI ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร ที่อำนวยความสะดวกตลอดการทดสอบนี้





ปัจจุบัน DTI มีโครงการวิจัยจรวดหลัก ๆ สองโครงการคือ DTI-1/1G และ DTI-2 ซึ่งบางส่วนส่งมอบให้หน่วยผู้ใช้เพื่อใช้งานแล้ว บางส่วนกำลังเตรียมการเพื่อส่งมอบให้กับหน่วยผู้ใช้ภายในปีงบประมาณนี้ และบางส่วนยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา
ในส่วนของ DTI-1G นั้น ทาง DTI กำลังเตรียมพร้อมเพื่อส่งมอบให้กับหน่วยผู้ใช้ในกองทัพบกในระยะเวลาอันใกล้นี้ และกำลังพัฒนาจรวด DTI-2 ที่มีระยะยิง 40 กิโลเมตรเพื่อส่งมอบให้กับกองทัพบกภายในสิ้นปีงบประมาณนี้ ซึ่งจะทำให้กองทัพบกมีขีดความสามารถในการใช้งานจรวดได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
นอกจากนั้น DTI ยังประยุกต์เทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยและพัฒนามาใช้ในโครงการพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ ที่เราร่วมกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการวิจัยเพื่อนำมาใช้งานในการทำฝนหลวงในพื้นที่ที่เครื่องบินทำฝนหลวงเข้าไม่ถึง ถือได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางทหารที่พัฒนาด้วยฝีมือคนไทยมาใช้งานจริงในภาคพลเรือน
และ DTI กำลังอยู่ในระหว่างการทำวิจัยจรวดต่อสู้รถถัง ซึ่งเป็นโครงการวิจัยพื้นฐานที่ทำการวิจัยเพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเช่น เทคโนโลยีดินขับไร้ควัน เป็นต้น เมื่อได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแล้ว ก็จะก้าวไปสู่การเปิดเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาโดยไป โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานที่มีขีดความสามารถในการวิจัยได้อีกด้วย







เนื่องในวาระโอกาสวันกองทัพไทย 18 มกราคม 2559 พวกเรา DTI ภูมิใจที่ได้มีโอกาสผลักดันการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์เพื่อสนับสนุนกองทัพไทย และความสำเร็จที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าขาดการสนับสนุนจากกองทัพไทยและหน่วยผู้ใช้ต่าง ๆ 

เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อันจะทำให้กองทัพไทยสามารถมียุทโธปกรณ์และการสนับสนุนจากฝีมือคนไทยเพื่อใช้ในภารกิจการปกป้องเอกราชและอธิปไตยของชาติไทยต่อไป


ในภาพคือจรวดหลายลำกล้อง DTI-1G ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจาก DTI-1 ครับ
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. วิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถี DTI-1G โดยสร้างต้นแบบที่สมบูรณ์ให้ทันต่อความต้องการใช้งานของกองทัพ และได้ทำพิธีส่งมอบต้นแบบระบบจรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถี DTI-1G เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 โดย พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลามโหม และ สทป. โดยพลอากาศเอก พงศธร บัวทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร ส่งมอบให้ ผู้บัญชาการกองทัพบก พลเอก ธีรชัย นาควานิช เพื่อมอบให้แก่หน่วยผู้ใช้คือ กองพลทหารปืนใหญ่ นำเข้าประจำการต่อไป



เทคโนโลยีป้องกันประเทศไม่ได้มีประโยชน์กับการป้องกันประเทศเท่านั้น วันนี้คืออีกหนึ่งตัวอย่างที่เทคโนโลยีป้องกันประเทศสามารถช่วยสนับสนุนและส่งเสริมภาคพลเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติของเรา

โดย DTI และกรมฝนหลวงกำลังพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ (Weather Modification Rocket) เพื่อสนับสนุนการทำฝนหลวงในพื้นที่ที่เครื่องบินทำฝนหลวงเข้าถึงลำบาก ซึ่งจรวดจะบรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์และถูกยิงขึ้นเพื่อทำปฏิกิริยากับเมฆให้เกิดฝน และมีแผนที่จะทดลองยิงภายในปีนี้ หลังจากนั้น DTI จะทำการผลิตจรวดเพื่อสนับสนุนการทำฝนหลวงต่อไป รวมทั้งจะมีการนำอากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการปฏิบัติการฝนหลวงและการบินเกษตรอีกด้วย

DTI ภูมิใจและขอเป็นส่วนหนึ่งในการสู้ภัยแล้งกับพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนครับ





DTI เปิดหลักสูตรการฝึกอบรมนักบินภายนอกอากาศยานไร้คนขับสำหรับบุคคลภายนอกทั่วไป เพื่อสอบคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมภาคปฎิบัติ เพื่อฝึกบุคคลที่สนใจทำการบินกับอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ด้วยการเป็นนักบินภายนอก โดยทำการฝึกทั้งภาคทฤษฏีและการฝึกกับ Simulator ระหว่างวันที่ 1-9 ก.ย. เรียนช่วงเย็น-ค่ำและเสาร์-อาทิตย์

สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกภาคทฤษฏีและสอบได้คะแนน 4 ลำดับแรก จะได้รับเข้าการฝึกภาคปฏิบัติระหว่างวันที่ 10-19 ก.ย. 59 ซึ่งจะมีทั้งการฝึกกับเครื่องบินบังคับวิทยุ และการฝึกกับโดรนเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมแบบรวมการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้าน UAV ให้แก่ภาคประชาสังคม (ไม่มีข้อผูกมัดและผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น)

คุณสมบัติผู้สมัคร
1. บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ ต้องมีเชื้อชาติไทยและสัญชาติไทย
2. จบการศึกษาปริญญาตรี ขึ้นไป ไม่จำกัดสาขาวิชา
3. ข้าราชการทหาร ตำรวจ หรือพลเรือน อายุตั้งแต่ 20 ปี ไม่เกิน 35 ปี (นับจากปีเกิดถึงปีที่รับสมัคร)
4. มีทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์พอใช้ในระดับปฏิบัติการ
5. สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคในการฝึกอบรมนักบินภายนอกภาคสนาม
6. มีใบรับรองแพทย์ผลการตรวจร่างกาย ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
7. สามารถรับผิดชอบค่าที่พัก และค่าอาหารในการเข้ารับการฝึกอบรมได้ด้วยตนเอง ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ

หมายเหตุ 
- หากสามารถควบคุมเครื่องบินบังคับด้วยวิทยุได้ จะถือเป็นข้อพิจารณาพิเศษเพิ่มเติม
- ในกรณีที่มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรมฯ เกิน 40 คน DTI ขอสงวนสิทธิ์ในการประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ตามรายชื่อที่คณะทำงานโครงการฯ เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกฯ และผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรมฯ
ระยะเวลาการฝึกอบรม: ภาคทฤษฎี 8 วัน (เรียนเวลา 16.30 – 19.30 น.) / ภาคปฎิบัติ 10 วัน

จำนวนที่นั่งผู้เข้าอบรม: 40 คน
วิธีการฝึกอบรม 
1. บรรยายอบรมทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง 7 วิชา วิชาละ 2 ชม. รวมทั้งหมด 17 ชม.
2. ฝึกอบรมปฏิบัติการกับเครื่องช่วยฝึก จำนวน 3 ชม./คน (ตามตารางการฝึกรายบุคคล) เสาร์-อาทิตย์ (09.00-17.00 น.) 100 คะแนน
3. การทดสอบภาคทฤษฎี จำนวน 100 ข้อ (จำนวน 100 คะแนน)
4. นำคะแนนในข้อ 2 และ 3 รวมกัน สำหรับผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 4 อันดับแรก จะเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการฝึกภาคปฎิบัติต่อไป จำนวน 4 ที่

Download ใบสมัครได้ที่ www.dti.or.th/pdf/UAV-Application%20form.pdf  ส่งใบสมัครได้ระหว่าง 15 ก.ค.-15 ส.ค. 59

หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่ น.ท. พิทักษ์ ประกรแก้ว ตาแหน่ง ผู้จัดการโครงการ โทรศัพท์มือถือ 081 442 1718 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ pitak.p@dti.or.th




กองทัพส่วนใหญ่จึงมีหน้าที่หยิบ Engine ในท้องตลาดมากำหนดความต้องการในการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับการจำลองยุทธ์ทางทหาร เนื่องจาก Engine ต่าง ๆ เหล่านั้นมีประสิทธิภาพสูงพอ ส่วนหน้าที่ของ DTI คือใช้ API ของ Engine นั้นมาพัฒนาในสิ่งที่เหมาะสมกับกองทัพไทย ถ้าในอนาคต Engine มีการพัฒนาขึ้น ซึ่งเรามีแผนที่จะพิจารณาใช้ VBS3 ในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจาก UAV Simulator นี้ยังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา เราจึงยังใช้องค์ประกอบเดิม ๆ ของ Engine อยู่ เช่นภูมิประเทศหรือตัวเครื่องแบบของทหารราบ แต่ถ้าใครสังเกตดี ๆ จะพบว่าตัว UAV นั้นเป็น Fixed-Wing UAV ของ DTI แล้ว หลังจากนี้เราจะทะยอยใส่องค์ประกอบที่เป็นไทยเข้าไปเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับการพัฒนา AI ของระบบให้ฉลาดมากขึ้น รวมถึงระบบภารกิจและระบบประเมินการฝึกที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา


 
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) ชั้น 5 เลขที่ 47/433 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ : 0 2980 6688, โทรสาร : 0 2980 6199


ติดตามผ่านสื่อ Social ที่ : Facebook, Youtube

เว็บไซต์สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ขออนุญาตใช้คุ๊กกี้เพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ท่านสามารถอ่านนโยบายคุ้กกี้ได้ ที่นี่.

Copyright © 2025 Defence Technology Institute. All Rights Reserved.